หน้าหลัก ข้อมูลทั่วไป ข่าวสารประชาสัมพันธ์ ข้อมูลการดำเนินงาน หนังสือราชการ ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น แหล่งท่องเที่ยว กระดานสนทนา ติดต่อเรา
 

 .: นโยบาย อบต.ผาน้ำย้อย :.
 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

               ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 25602579) 6 ยุทธศาสตร์

               1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

               2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

               3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

               4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม

               5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

               6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

 

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560 – 2564)

วิสัยทัศน์

          จากสถานะของประเทศและบริบทการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ประเทศกำลังประสบอยู่ ทำให้การกำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยังคงมีความต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และ กรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนของประเทศ

เป้าหมายการพัฒนาประเทศ

          1. การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง

                   (1) เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.0

                   (2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP Per Capita) และรายได้ประชาชาติต่อหัว (GNP Per Capita) ณ สิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 317,051 บาท (9,325 ดอลลาร์สรอ.) และ 301,199 บาท (8,859 ดอลลาร์ สรอ.) ต่อคนต่อปี

                   (3) ผลิตภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ต่อปี

                   (4) การลงทุนรวมขยายตัวไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 8.0 (การขยายตัวของการ ลงทุนภาครัฐไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10.0 และการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ในขณะ ที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปี)

          2. การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและการสร้าง สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ

                   (1) ประชาชนทุกช่วงวัยมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (SocioEconomic Security) และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                   (2) การศึกษาและการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาคุณภาพ

                   (3) สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งเป็นฐานรากที่เอื้อต่อการพัฒนาคน

          3. การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

                   (1) การกระจายรายได้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น

                   (2) บริการทางสังคมมีคุณภาพและมีการกระจายอย่างทั่วถึง

          4. การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                   (1) รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร สร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม

                   (2) ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                   (3) เพิ่มขีดความสามารถในการรับมือภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ

                   (4) เพิ่มประสิทธิภาพและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   (5) มีการบริหารจัดการน้ำให้สมดุลระหว่างการอุปสงค์และอุปทานของน้ำ

          5. การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ

                   (1) การบริหารงานภาครัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วม

                   (2) ขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น

                    (3) มีการกระจายอำนาจที่เหมาะสม 

           กรอบยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้

               1.ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์

               2.ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

               3.ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

               4.ยุทธศาสตร์ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

               5.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

               6.ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในภาครัฐ

               7.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์

               8.ยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม

               9.ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ

               10.ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาค

 

แผนพัฒนาภาค / แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด / แผนพัฒนาจังหวัด

               1) แผนพัฒนาภาค

                    ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง

                   กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เป้าประสงค์  ตัวชี้วัด  และกลยุทธ์การพัฒนาเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของการพัฒนารายได้ประเด็นยุทธศาสตร์ รวม    ประเด็นยุทธศาสตร์  ดังนี้

                   ๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการผลิต การค้า การแปรรูปพืชเศรษฐกิจให้มี ความเข้มแข็ง

                             ๑.๑) เพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพที่ดี

๑.๒) พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปและเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้า
เกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าเกษตร                                                                         

                   ๒. ยุทธศาสตร์เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มจังหวัด

                             ๒.๑) พัฒนาปัจจัยการบริหารงานกลุ่มจังหวัดพัฒนาปัจจัยความพร้อมในการปฏิบัติงานของกลุ่มจังหวัดให้สามารถรองรับการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านจำนวนบุคลากร  วัสดุ / ครุภัณฑ์  เพื่อการปฏิบัติ

                             ๒.๒) พัฒนาระบบการบริหารการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงระบบงานด้านการบริหารจัดการแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดโดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายการบริหารแผน

               2) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

               วิสัยทัศน์

               “ศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร เชื่อมโยงการบริการ การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์

สู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง”

                    กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย ร้อยเอ็ด  ขอนแก่น  สารคาม  และกาฬสินธุ์ มุ่งพัฒนาฐานการผลิต การค้า การแปรรูปพืชเศรษฐกิจหลัก (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ไหม ท่องเที่ยว การค้า การบริการ) ที่มีคุณภาพเพื่อความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานทดแทนสู่สากล

เป้าประสงค์รวม

1. เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมกลุ่มจังหวัด

2. เพิ่มผลิตภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักให้ได้มาตรฐาน

3. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด

ตัวชี้วัดรวม

1. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมกลุ่มจังหวัด

2. อัตราการขยายตัวรายได้การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดที่เพิ่มขึ้น

ประเด็นยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพการผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรที่มิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการค้า การบริการ และโลจิสติกส์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร
 แผนพัฒนาจังหวัด

                   วิสัยทัศน์

เป็นจังหวัดที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคม  บนพื้นฐานแหล่งผลิต และสร้าง

มูลค่าเพิ่มข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง  เอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชน   และเป็นเมืองน่าเที่ยว น่าอยู่

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1  เพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตร

สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และอาหารปลอดภัย

                   กลยุทธ์

1. พัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้และพื้นที่ที่มีศักยภาพของจังหวัดเป็นเขตเศรษฐกิจ

ข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง

2. พัฒนากระบวนการผลิต  การแปรรูปข้าวหอมมะลิ  และสินค้าเกษตรด้วยวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเกษตรปลอดภัยและอินทรีย์ทุกขั้นตอน

3. สนับสนุน ส่งเสริมเกษตรกร  และสถาบันเกษตรกร ให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. ส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรในท้องถิ่น และตลาดอิเล็กทรอนิกส์อย่างทั่วถึง

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2  ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว  การบริการ 

การค้า  การผลิต และการลงทุน                   

                   กลยุทธ์

1. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหลักสามเหลี่ยมสาเกตนคร  และพื้นที่ที่มีศักยภาพ

รวมทั้ง กิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม

2. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ให้ได้มาตรฐาน

3. ส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อการค้าและส่งออก    โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมสีเขียว

4. ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม การค้า และการลงทุน 

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3   ยกระดับคุณภาพชีวิต  และสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว

ชุมชน และสังคม

                   กลยุทธ์

1. พัฒนาคนทุกช่วงวัย  และเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้รองรับการเปลี่ยนแปลง

2. พัฒนาระบบสุขภาพเชิงป้องกัน  ด้วยเทคโนโลยีสุขภาพ สปา  และเทคโนโลยี  การแพทย์

3. พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  และการจัดสวัสดิการสังคมให้มีคุณภาพ    

4. สร้างและพัฒนาแรงงานไปสู่แรงงานที่มีความรู้  ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง รวมทั้ง นำเข้าสู่ระบบประกันสังคม

5. สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้หลุดพ้นจากความยากจน

6. พัฒนาเมืองศูนย์กลางของจังหวัดเป็นเมืองน่าอยู่สำหรับคนทุกกลุ่มในสังคม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4   สร้างความสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                               

ให้มีคุณภาพและยั่งยืน

                   กลยุทธ์

1. พัฒนาแหล่งน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ

2. ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้คงความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ต้นน้ำ ป่าเสื่อมโทรมและป่าชุมชน

3. บริหารจัดการลดปริมาณขยะมูลฝอยและการกำจัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมทั้ง  ปัญหา สิ่งแวดล้อมอื่น

4. ส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในชุมชนและท้องถิ่น

                   ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 รักษาความมั่นคงภายใน และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้รับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ  ด้วยความเสมอภาค  และเป็นธรรม

                   กลยุทธ์

                    1. เพิ่มศักยภาพการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในจังหวัด

                    2. ลดปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด เพื่อสร้างความปลอดภัยให้สังคม

                    3. เพิ่มศักยภาพการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ

                    4. ส่งเสริมการบริหารงานแบบบูรณาการ  และแบบประชารัฐ  ภายใต้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด

          วิสัยทัศน์

                   “เป็นท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านกลไกประชารัฐ”

ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด (พ.ศ. 2561 -2564)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน

          กลยุทธ์

          1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นระบบและได้มาตรฐาน

          2. บริหารจัดการน้ำ พัฒนาชลประทานและเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตรให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

          3. พัฒนาด้านผังเมือง การควบคุมอาคาร กำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย การป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย

          4. บำรุงรักษาป่าและน้ำอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม โดยมีการบูรณาการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม

          กลยุทธ์

1. พัฒนาคนทุกช่วงทุกวัย สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านการศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบถ่ายทอดความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. พัฒนาประชาชนในจังหวัดให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนให้กับสินค้าและบริการ

3. พัฒนาศักยภาพแรงงานทั้งแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ แรงงานวิสาหกิจชุมชน ไปสู่แรงงานที่มีความรู้ มีฝีมือ ความเชี่ยวชาญ

4. พัฒนาสวัสดิการสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขอนามัยและสภาพแวดล้อม การป้องกันและระงับการระบาดของโรคติดต่อ ส่งเสริมสุขภาพพลานามัยของประชาชน และการเข้าถึงการรักษาของผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและประชาชนทั่วไป

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน

          กลยุทธ์

1. ส่งเสริมการลงทุน ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นแก่คนในชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน และมุ่งเน้นให้เกิดการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2. พัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดให้เป็นพื้นที่เป้าหมายทางการท่องเที่ยว การสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพ การบริการ การผลิต การค้า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการของจังหวัด

3. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร ผลิตผลของกลุ่มอาชีพต่างๆ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ การลดต้นทุนการผลิต และการใช้พลังงานทดแทน

4. พัฒนากระบวนการผลิตสินค้าการเกษตรด้วยนวัตกรรม ให้เป็นเกษตรปลอดภัย สู่มาตรฐานสากล เกษตรอินทรีย์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างเสริมสมรรถนะประชาชนและพลังทางสังคม

          กลยุทธ์

1. ส่งเสริมประชาธิปไตย สนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยภาคพลเมือง การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน คำนึงถึงหลักนิติธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า การมีส่วนร่วม และมีคุณธรรมจาก

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          2. การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทุกกระบวนการของประชาชน เพื่อแก้ปัญหา การปฏิรูป และการพัฒนาท้องถิ่นในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง

          3. การบริหารแบบบูรณาการ และแบบประชารัฐ

          4. การสร้างความสงบ ความผาสุก ความมั่นคงในชีวิต การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การสร้างโอกาสในการเข้าถึงหรือได้รับสิทธิและสวัสดิการของรัฐอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

 

ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          2.1 วิสัยทัศน์

               “สนองนโยบาย  กระจายอำนาจการพัฒนา  ประชาชนอยู่ดีกินดี  มีมาตรฐานการศึกษา  ศาสนาวัฒนธรรมรุ่งเรือง  บ้านเมืองมั่นคง”

 

          2.2 ยุทธศาสตร์

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต        

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และความสงบเรียบร้อย

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมือง การบริหาร

 

          2.3 เป้าประสงค์

1. เพื่อพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2. เพื่อพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต        

3. เพื่อพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และความสงบเรียบร้อย

4. เพื่อพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

5. เพื่อพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6. เพื่อพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

7. เพื่อพัฒนาด้านการเมือง การบริหาร

2.4 พันธกิจ

1. จัดใหมีและบํารุงรักษาทางน้ำและทางบก

2. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน ที่สาธารณะรวมทั้งกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

3. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

9. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

10. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

11. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

12. บำรุงและให้มีสถานที่ประชุม การกีฬา และการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

13. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์

14. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

          15. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

          16. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

          17. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

          18. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

          19. กิจการเกี่ยวพาณิชย์

          20. การท่องเที่ยว

          21. การผังเมือง

          22. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

          23. การสาธารณูปการ

          24. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

          25. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

          26. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

          27. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

          28. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

          29. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

          30. การควบคุมเลี้ยงสัตว์

          31. การให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

       32. การรักษาปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ

          33. การขนส่งและวิศวกรรมจราจร

          34. การควบคุมอาคาร

        35. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยิสิน



นายสาคร โยชน์เมืองไพร

นายก อบต.ผาน้ำย้อย


นายสมเดช   กิ่งแก้ว

ปลัด อบต.ผาน้ำย้อย